Internet of Things (IoT) in Retailer ระบบค้าปลีก
→ การนำเทคโนโลยี IoT (Internet of Things) มาใช้ในการขายสินค้าและบริการ เพื่อช่วยเพิ่มโอกาสในการดำเนินธุรกิจห้างร้าน ด้วยการเพิ่มประสบการณ์สำหรับลูกค้าในการซื้อ ผ่านการส่งข้อมูลให้กับลูกค้าด้วยอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์และระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ต ที่สามารถเชื่อมต่อกับลูกค้าได้ทุกที่ทุกเวลา โดยลูกค้าสามารถเช็ครายการสินค้า และซื้อสินค้าได้ด้วยตนเอง เพื่ออำนวยความสะดวกให้กับลูกค้า และลดการใช้ทรัพยากรแรงงานในการบริการลูกค้าด้วยระบบการทำงานที่ชาญฉลาดของ IoT ซึ่งในอนาคตมีแนวโน้มที่ระบบนี้จะถูกนำไปใช้และพัฒนามากยิ่งขึ้น เพื่อตอบโจทย์ความต้องการและการใช้ชีวิตของผู้บริโภคในปัจจุบัน
วันนี้เราจะมานำเสนอเทคโนโลยี IoT ที่น่าสนใจของ Retailer ที่นำมาใช้ภายในร้านค้าปลีก ได้แก่
1.การวิเคราะห์ภายในร้านค้า โดยใช้ LiDAR SENSOR
เป็นส่วนการวิเคราะห์ตัวลูกค้าและพฤติกรรมบ้างอย่างของลูกค้าเป็นหลัก
LiDAR Sensor → เทคโนโลยีนี้เริ่มรู้จักกันโดยทั่วไปผ่านการใช้ใน ‘อวกาศ’ ที่ดูห่างไกลตัวเรา หรือบางคนอาจจะเคยได้ยินจากการใช้ในรถยนต์ไร้คนขับ แล้วก็พัฒนามาจนสามารถนำมาใช้ภายในร้านค้าได้
โดยใช้เทคโนโลยีที่ชื่อว่า LiDAR (Light Detection and Ranging)
ทำงานโดยการยิงคลื่นแสงเลเซอร์ที่ส่งไปกระทบกับพื้นผิว เพื่อวัดระยะทางผ่านการใช้ ‘ระยะเวลา’ ในการเดินทางของลำแสงออกจากอุปกรณ์ไปถึงพื้นผิวเป้าหมายจนกลับมาที่เซนเซอร์ ผ่านสูตรคำนวณที่ดูไม่ยากอย่าง
ระยะทาง = (ความเร็วของแสง x เวลาที่เดินทาง)/2
ความแตกต่างของระยะเวลาของลำแสงต่างๆ ที่ไปกระทบจะสามารถประมวลผลเป็นข้อมูล
มันสามารถช่วยตอบโจทย์ปัญหาที่ต่างๆในร้านที่ต้องการวิเคราะห์และปรับปรุงแก้ไข ยกตัวอย่างเช่น เมื่อใดที่ร้านค้ามีลูกค้ามากที่สุด ลูกค้าหยุดและยืนตรงไหน พื้นที่ใดของร้านที่พวกเขาเดินชมมากที่สุด แม้กระทั่งการโจรกรรมเกิดขึ้นที่ไหน และนำข้อมูลมาวิเคราะห์และพัฒนาร้าน
ซึ่งตัวของ LiDAR sensor ไม่เหมือนกับการติดตามคนในกล้องวงจรปิดทั่วไป เนื่องจากไม่มีนัยยะเกี่ยวกับความเป็นส่วนตัว เนื่องจากเซ็นเซอร์ จะบันทึกเฉพาะโครงร่างของบุคคลและวัตถุ ดังนั้นจึงไม่ระบุตัวตนโดยสิ้นเชิง
LiDAR Sensor ยังมีประโยชน์ในสถานะการ COVID-19 เพราะจะตรวจจับและวิเคราะห์ข้อมูลการภาพ 3 มิติที่ได้มานนั่น มาวิเคราะห์และแจ้งเตือนกับพนักงานว่าเข้าใกล้ลูกค้ามากเกินไปหรือว่าลูกค้ายืนใกล้กันจนเกินไป
บริษัทที่ทำการพัฒนาระบบของตัว LiDAR
ซึ่งทางบริษัท Hitachi-LG Data Storage ได้พัฒนาระบบเซ็นเซอร์สแกนพื้นผิวแบบ 3 มิติโดยใช้แสงเลเซอร์ (3D LiDAR People Counter sensor) สำหรับใช้ติดตามการเคลื่อนไหวของลูกค้าที่เข้ามาใช้บริการในห้างและร้านค้าปลีกและวิเคราะห์ข้อมูลเพื่อนำไปใช้ในการปรับปรุงยอดขายและสร้างความพึงพอใจให้แก่ลูกค้ามากยิ่งขึ้น
แหล่งอ้างอิงจาก
2.ระบบชั้นวางของอัจฉริยะ(Smart Shelf)
ชั้นวางอัจฉริยะช่วยให้ผู้ค้าปลีกตรวจสอบระดับสินค้าคงคลังและจะทราบเมื่อสินค้าหมดสต็อก เทคโนโลยี Smart Shelf สามารถเตือนผู้ค้าปลีกถึงการโจรกรรมสินค้า
ชั้นวางอัจฉริยะใช้เทคโนโลยี RFID (เช่น RFID tags , RFID readers และเสาอากาศ) เพื่อติดตามสินค้าคงคลังในร้านค้าปลีกโดยอัตโนมัติ Smart Shelf ใช้เซ็นเซอร์น้ำหนักที่ติดตั้งภายในชั้นวางหรือด้านล่าง เซ็นเซอร์ใช้เพื่อติดตามปริมาณสินค้าคงคลังที่วางอยู่บนชั้นวาง
ประโยชน์ของ Smart Shelf
- ข้อมูลสินค้าคงเหลือแบบเรียลไทม์และการจัดการสินค้าคงเหลือ
- การแจ้งเตือนว่าสินค้าเหลือน้อยเพื่อลดในกรณีที่สินค้าหมดและทำให้เสียโอกาสในการขาย
- การวางตำแหน่งผลิตภัณฑ์ที่ถูกต้อง และมีการแจ้งเตือนหากมีการเคลื่อนย้ายสินค้า
- อัปเดตแท็กชั้นวางแบบ Real-Time
- สามารถเพิ่มประสิทธิภาพของร้านค้าและบริการลูกค้าที่เพิ่มขึ้น
Smart Shelf สามารถ interact กับแอพที่ติดตั้งบนสมาร์ทโฟนของลูกค้าซึ่งมีข้อมูลประวัติการซื้อ ขณะที่ลูกค้าเดินไปตามทางเดิน ผู้ค้าปลีกสามารถให้ข้อเสนอส่วนบุคคลโดยอิงจากการซื้อผลิตภัณฑ์ที่คล้ายกันในอดีต หากลูกค้าสร้างรายการซื้อของในแอป Smart Shelf แอพจะนำพวกเขาไปยังที่ตั้งของผลิตภัณฑ์ที่ต้องการได้
ตัวอย่าง
ชั้นวางของอัจฉริยะ หรือที่ Amazon ตั้งชื่อให้ว่า “Dash Smart Shelf” โดยมันมาพร้อมที่เซนเซอร์วัดน้ำหนักที่สามารถเชื่อมต่อเข้ากับเครือข่าย Wi-Fi ในบ้าน หรือในร้านค้าได้ เมื่อเราหยิบของจากชั้นวางออกไปเรื่อย ๆ ระบบจะแจ้งเตือนให้เราทราบว่า ของบนชั้นกำลังจะหมดลงแล้ว ให้รีบไปเติมโดยด่วนนั่นเอง (ระบบสามารถสั่งซื้อสินค้าให้โดยอัตโนมัติได้ด้วย)
ข้อดีของชั้นวางอัจฉริยะนี้ก็คือ มันเหมาะกับผู้ใช้งานหลายกลุ่ม ไม่ว่าจะเป็นในฝั่งร้านค้าปลีกที่ชั้นวางของจะคอยช่วยเตือนว่าสินค้ากำลังจะหมด หรือหากซื้อไปใช้ในครัวเรือน มันก็ช่วยเตือนได้เช่นกัน
RFID Tag คืออะไร ? 🧐
RFID tag เป็นส่วนประกอบอย่างหนึ่งในการทำระบบ RFID ซึ่งเราจะมาทำความเข้าใจ RFID tag กันว่า คืออะไร และเราจะเลือก RFID tag แบบไหนเพื่อให้เหมาะกับงานของเรา มาดูที่โครงสร้างภายในของ Tag RFID จะประกอบด้วย 2 ส่วน ได้แก่
- ขดลวดขนาดเล็กซึ่งทำหน้าที่เป็นสายอากาศ (Antenna) สำหรับรับส่งสัญญาณคลื่นความถี่วิทยุ และสร้างพลังงานเพื่อส่งให้ส่วน microchip
- microchip ทำหน้าที่เก็บข้อมูลเลขประจำตัวของ tag และข้อมูลอื่นๆ
RFID Tag ที่เห็นกันอยู่ในปัจจุบัน จะหุ้มด้วยพลาสติก เหล็ก หรือกระดาษ และ RFID tag นั้นจำเป็นต้องใช้งานควบคู่กับ RFID Reader ซึ่งในปัจจุบันธุรกิจที่นิยมนำระบบ RFID ไปใช้ เช่น ธุรกิจค้าปลีก, คลังสินค้า, Logistics, งานอีเว้นท์, คอนเสิร์ต, โรงพยาบาล, โรงเรียน เป็นต้น
→ RFID tag มีอยู่ 2 ประเภทด้วยกัน คือ
1. Passive tag เป็น tag ที่ไม่มีแหล่งพลังงานเป็นของตัวเอง (ไม่มีแบตเตอรี่) จึงต้องอาศัยพลังงานจากคลื่นวิทยุที่ส่งมาจากเครื่องอ่าน (RFID reader) ส่วนในการติดต่อกันระหว่าง RFID tag กับ RFID reader นั้นเครื่องอ่านจะเป็นส่วนที่เริ่มส่งข้อมูลก่อน และเมื่อ tag ได้รับข้อมูลจากเครื่องอ่านแล้วก็จะส่งข้อมูลมายังที่เครื่องอ่าน ตัวอย่างของ Passive tag เช่น บัตรสมาร์ทการ์ด ที่ไว้เป็นคีย์การ์ดเพื่อเข้าอาคาร เป็นต้น
ข้อดี : มีน้ำหนักเบา ขนาดเล็ก มีอายุการใช้งานได้ไม่จำกัด และราคาถูกกว่า tag ประเภท active tag
ข้อเสีย : ระยะการรับส่งข้อมูลใกล้ (ขึ้นอยู่กับ RFID reader ด้วย) มีหน่วยความจำขนาดเล็กประมาณ 32 ถึง 128 บิต
2. Active tag เป็น tag ที่มีแหล่งจ่ายไฟในตัวเอง (มีแบตเตอรี่) Tag ประเภทนี้จะมีอายุของแบตเตอรี่ประมาณ 3 ปี เมื่อแบตเตอรี่หมดจะไม่สามารถนำกลับมาใช้ใหม่ได้ tag ประเภทนี้จะมีระยะการอ่านที่ไกลกว่า Passive tag ส่วนในการติดต่อกันระหว่าง tag กับ RFID reader (เครื่องอ่าน) นั้น tag จะเป็นส่วนที่เริ่มการติดต่อก่อน เพราะ active tag มีแหล่งพลังงานของตัวเอง จึงไม่ต้องอาศัยพลังงานจากเครื่องในการส่งข้อมูล ตัวอย่าง active tag ที่เราเห็นกันปัจจุบัน เช่น tag easy pass
ข้อดี : ระยะการอ่านได้ไกล มีหน่วยความจำภายในขนาดใหญ่ นอกจากนี้ยังทำงานในบริเวณที่มีสัญญาณรบกวนได้ดี
ข้อเสีย : ราคาแพง และตัว tag ค่อนข้างมีขนาดใหญ่
แหล่งอ้างอิงจาก
3.รถเข็นอัจฉริยะ Smart Shopping Cart
รถเข็นอัจฉริยะจะมีหน้าจอมอนิเตอร์และตัวอ่านแท็ก รวมทั้งเชื่อมต่อกับระบบ prepaid card ลูกค้าสามารถเช็คราคาสินค้าก่อนหย่อนลงตะกร้า สินค้าที่ใส่ลงตะกร้าจะแสดงรายการบนหน้าจอ ซึ่งมีประโยชน์ทำให้ลูกค้าสามารถ
- ทราบยอดรวมราคาสินค้าที่อยู่ในรถเข็นได้ตลอดเวลาว่ายอดรวมเกินงบประมาณที่ตั้งไว้หรือไม่
- ถ้าไม่ต้องการสินค้าตัวไหนแค่หยิบออกจากรถเข็นระบบก็จะจัดการลบรายการนั้นออกทันที
- นำเอาระบบ AI เข้ามาใช้เพื่อวิเคราะห์พฤติกรรมการซื้อของลูกค้าแต่ละราย เพื่อสามารถแนะนำสินค้าอื่นๆ ที่ลูกค้ารายนั้นๆ น่าจะสนใจควบคู่กันขึ้นที่หน้าจอ ในซุปเปอร์มาเก็ตยังมีกล้องวงจรปิดจำนวนมาก เพื่อตรวจสอบว่าสินค้าในเชลฟ์ไหนขาดไปทำให้สามารถเติมสินค้าได้ทันท่วงที
- ใช้ในการวิเคราะห์พฤติกรรมลูกค้าว่าสามารถหาสินค้าที่ต้องการได้ง่ายหรือยากอย่างไร เมื่อลูกค้าซื้อสินค้าเสร็จก็สามารถเดินออกจากร้านได้เลยโดยไม่จำเป็นต้องเข้าคิวรอแคชเชียร์เพื่อชำระเงิน ไม่ต้องมีการสัมผัสหรือใช้เงินสดหรือแม้กระทั่งบัตรเครดิต โดยยอดซื้อจะตัดจากบัตร prepaid ในทันที
ในรถเข็นแต่ละคันจะติดตั้ง RFID , ไมโครคอนโทรลเลอร์ Arduino และหน้าจอสัมผัส รถเข็นอัจฉริยะสามารถสำรองสินค้าทั้งหมดที่ใส่เข้าไปได้โดยอัตโนมัติไปยังรถเข็นโดยใช้เครื่องอ่าน RFID ใช้ไมโครคอนโทรลเลอร์บนรถเข็นสำหรับการประมวลผลข้อมูล ส่วนของหน้าจอคือใช้เป็นส่วนต่อประสานกับผู้ใช้ เมื่อลูกค้าทำการซื้อเสร็จก็สามารถชำระเงินที่จุดชำระเงินโดยการเรียกเก็บเงินจากข้อมูลที่สร้างขึ้นบนรถเข็นอัจฉริยะ อีกทั้งยังมี Location-sensing ในซูเปอร์มาร์เก็ตที่อนุญาตให้ผู้ใช้สามารถค้นหาตำแหน่งของสินค้าโดยใช้การรวบรวมข้อมูล
Smart Shopping Cart ที่ใช้ Internet of Things (IoT) ซึ่งประกอบด้วย
- เซ็นเซอร์ระบุความถี่วิทยุ (RFID)
- ไมโครคอนโทรลเลอร์ Arduino
- โมดูล Bluetooth
- แอปพลิเคชันมือถือ
→ RFID (Radio Frequency Identification) มีบทบาทสำคัญในกระบวนการค้าปลีกเพื่อจัดการผลิตภัณฑ์ตั้งแต่การผลิตจนถึงสินค้าคงคลังและจากสินค้าคงคลังถึงผู้บริโภค การใช้เทคโนโลยี RFID ที่สำคัญ คือการติดตามวัตถุ ที่ใช้ IoTตะกร้าสินค้า
ที่สามารถแบ่งออกเป็น 2 ส่วนหลักๆ คือ
ส่วนประกอบอิเล็กทรอนิกส์
- เครื่องอ่าน RFID
โมดูล RFID สามารถอ่านและเขียนแท็ก จะใช้ SPI (Serial Peripheral Interface) เพื่อการสื่อสารของเครื่องอ่านบัตรและแท็กสื่อสาร
2) RFID TAG
จัดเก็บข้อมูลเพื่อเป็นการจัดก็บข้อมูล store data จะใช้ RFID tag แบบ passive ที่ไม่ต้องการแหล่งจ่ายไฟ แบตเตอรี่เป็นสาเหตุที่แท็กแบบ passive RFID มีประสิทธิภาพมากกว่า เมื่ออยู่ในช่วงของคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าที่ผลิตโดยเครื่องอ่าน RFID
3) ARDUINO UNO
เป็นบอร์ดไมโครคอนโทรลเลอร์ชื่อ Arduino Uno ขึ้นอยู่กับคอนโทรลเลอร์ ATmega328 series สามารถควบคุมบอร์ดว่าต้องทำอะไรโดยส่งชุดคำสั่งต่อไมโครคอนโทรลเลอร์บนบอร์ด
4) บลูทูธ
โมดูลบลูทูธ สามารถใช้งานระบบไร้สายแบบอนุกรม การส่งข้อมูลความถี่ในการทำงานอยู่ในกลุ่มมากที่สุด ย่านความถี่ ISM 2.4GHz
ส่วนประกอบซอฟต์แวร์
1) แอปพลิเคชั่นมือถือ
2) ระบบการจัดการซุปเปอร์มาร์เก็ตบนเว็บ → แอปพลิเคชันบนเว็บได้รับการพัฒนาเพื่อควบคุมข้อมูล กระบวนการการจัดการที่แคชเชียร์หรือผู้ดูแลระบบ
สิ่งที่น่าสนใจคือ การแสดงข้อมูลผลิตภัณฑ์ ประวัติการซื้อก่อนหน้า การจัดการรายการชอปปิ้งปัจจุบัน โปรโมชั่นสินค้า ตำแหน่งของสินค้า ซึ่งข้อมูลต่างๆนี้สกัดโดยแอปพลิเคชันมือถือจากฐานข้อมูล back-end ที่เก็บไว้ในระบบ server
รถเข็นที่มีเครื่องอ่าน RFID จะทำการอ่าน RFID จากป้ายที่ติดมากับสินค้าทุกชิ้น ข้อมูลเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์จะแสดงบนอุปกรณ์ที่แนบมากับรถเข็น
ส่วนประเทศไทยก็ได้เริ่มเห็นแบรนด์นำโมเดลร้านค้าอัจฉริยะมาใช้กันแล้วบ้าง อย่างร้าน “ท็อปส์ เดลี่ สิงห์คอมเพล็กซ์”
รถเข็นอัจฉริยะนี้สามารถอำนวยความสะดวกทั้งร้านค้าซูเปอร์มาร์เก็ตและลูกค้า เพื่อปรับปรุงคุณภาพของปัญหาการบริการและขจัดกระบวนการที่ใช้เวลานานในการช้อปปิ้ง 😊
แหล่งอ้างอิงจาก
4. IoT กับระบบควบคุมอุณหภูมิและความชื้น
โดยระบบเซนเซอร์จะช่วยให้ร้านค้าปลีกสามารถรักษาอุณหภูมิที่เหมาะสมในการเก็บรักษาสินค้าให้ปลอดภัยและลดการสูญเสียเพราะว่า การรักษาคุณภาพของสินค้าก็มีระดับอุณหภูมิที่มีความแตกต่างกัน เช่น อาหารสด ผลไม้ เครื่องดื่ม ยา เพื่อให้ผู้บริโภคได้รับสินค้าที่มีคุณภาพดี ทั้งยังช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการใช้พลังงานสำหรับการทำความร้อน การระบายอากาศ เครื่องปรับอากาศ ระบบแสงสว่าง เครื่องใช้ไฟฟ้า และอื่นๆ
การทำงานของเทคโนโลยีนี้ 👉
- จับอุณหภูมิจุดควบคุมวิกฤตโดยอัตโนมัติ ส่งข้อมูลหลายครั้งต่อชั่วโมงไปยังแพลตฟอร์มเว็บข้อมูล
- รับ SMS หรืออีเมลแจ้งเตือนเมื่ออุณหภูมิต่ำกว่าหรือสูงกว่าระดับที่คาดไว้
- เก็บข้อมูลโดยตรงในห้องทำความเย็น ตู้แช่แข็ง รถบรรทุกห้องเย็น หรือตู้โชว์ และสภาพแวดล้อมอื่นๆ เนื่องจากเซ็นเซอร์ได้รับการจัดอันดับ IP65 และทำงานโดยใช้แบตเตอรี่
- ดูบันทึกข้อมูลที่ผ่านมา เนื่องจากข้อมูลทั้งหมดจะถูกบันทึกไว้ ซึ่งช่วยให้ผู้ใช้สามารถดูช่วงของข้อมูลเพื่อ ค้นหารูปแบบหรือจุดอ่อนในการจัดเก็บและขนส่งสินค้า
ตัวอย่าง อุปกรณ์เกี่ยวกับการวัดอุณหภูมิ
เซ็นเซอร์วัดอุณหภูมิและความชื้นยอดนิยมคือเบอร์ DHT11/DHT22 เพราะราคาที่ถูก รวมทั้งเซ็นเซอร์ DHT11/DHT22 จะสามารถวัดค่าความชื้นได้ด้วย เซ็นเซอร์วัดอุณหภูมิตระกูล DHT จะแบ่งได้หลายรุ่น โดยแต่ละรุ่นจะมีขนาด และความละเอียดในการวัดต่างกัน จะทำให้ได้ค่าที่ละเอียดและการนำไปประมวลผลจะแม่นยำมากขึ้น
มีหมุด 3 ตัวที่คุณต้องใช้: GND, Vcc และ Data Out โดยขาData Out เป็นตัวส่งข้อมูลค่าออมาในการต่อใช้งาน ขา1เป็นไฟเลี้ยงเข้า สายกราวด์เข้าขา4 ส่วนขา2เป็นขาDataเข้าไปที่ input ของไมโครคอนโทรลเลอร์
เช่น ESP8266 Arduino หรือ ESP32 หรืออะไรก็ตามที่มีlibraryใช้งานกับDHT22
→ บริษัทที่นำเทคโนโลยีลักษณะนี้มาใช้งาน
บริษัท ติงส์ ออน เน็ต จำกัด (Things on Net) เป็นผู้ให้บริการโซลูชัน IoT ที่ได้รับความเชื่อถือ ด้วยเทคโนโลยีการสื่อสารชั้นนำระดับโลก ด้วยความแข็งแกร่ง และความเชี่ยวชาญด้านเทคโนโลยี มีบริการด้าน IoT ที่หลากหลาย
เพิ่มประสิทธิภาพการจัดเก็บยาและวัคซีน ด้วยระบบการควบคุมอุณหภูมิและความชื้น ลดความเสี่ยงที่ยาและวัคซีนเสียหายหรือเสื่อมคุณภาพ ลดกำลังคนในการดูแลรักษาโดยใช้
เซ็นเซอร์ Temphawk
มีความแม่นยำในการตรวจวัดอุณหภูมิได้ตั้งแต่ -40 ถึง 125 °C และตรวจวัดความชื้นได้ตั้งแต่ 0% ถึง 100%
สามารถตรวจสอบอุณหภูมิและความชื้นได้จากระยะไกล และตั้งค่าให้ระบบส่งข้อมูลได้ทุกๆ 10 นาที แสดงผลและจัดการข้อมูลต่างๆ ได้ผ่านมือถือ, แท็บเล็ต, คอมพิวเตอร์ หรือเว็ปไซต์
มีระบบแจ้งเตือนอย่างเมื่ออุณหภูมิหรือความชื้นภายในตู้แช่เกิดความผิดปกติขึ้น ทำให้สามารถแก้ปัญหาได้อย่างทันท่วงที ลดความเสี่ยงที่ยาและวัคซีนเสียหายหรือเสื่อมคุณภาพ
แหล่งอ้างอิงจาก
5. จากAmazon’s Dash button ปุ่มกดสั่งซื้อของเพียงคลิ๊กเดียวสู่ Amazon Echo ซื้อของง่ายๆผ่านเสียงของคุณ
Amazon’s dash button
ปุ่มสั่งซื้อแบบออฟไลน์เพียงคลิกเดียว ซึ่ง Amazon เป็นผู้บุกเบิก dash button อีกหนึ่งอุปกรณ์ผู้ช่วยสั่งซื้อสิ่งของในบ้านที่เชื่อมต่อระหว่างเทคโนโลยีกับผู้บริโภค ซึ่งผู้บริโภคสามารถเลือกผู้ให้บริการสั่งซื้อรายต่างๆได้ ไม่ว่าจะเป็นสินค้าอุปโภคบริโภค อย่าง เครื่องใช้ในครัวเรือน, ผลิตภัณฑ์เสริมความงาม, ผลิตภัณฑ์สุขภาพ, อาหาร, ขนม และเครื่องดื่ม โดยผ่านปุ่มสั่งซื้อเพียงปุ่มเดียว
การทำงานของปุ่ม Dash Botton
ปุ่ม Dash Botton 1 ชิ้น สามารถใช้ได้กับสินค้าเพียง 1 ชนิดเท่านั้น ซึ่งถ้าลูกค้าต้องการเปลี่ยนเป็นไปใช้ผลิตภัณฑ์อื่น จะต้องสั่ง ปุ่ม Dash Button ชิ้นใหม่ โดยปุ่ม Dash Botton ดังกล่าวจะถูกติดตั้งผ่าน WLAN และ โดยแบตเตอรี่ของปุ่ม Dash Button สามารถใช้งานได้ 5–10 ปีมีราคาอยู่ที่ประมาณ 4.99 ยูโร ต่อชิ้น
จากการสำรวจในประเทศสหรัฐอเมริกาพบว่า หลังจากที่ Amazon ได้นำนวัตกรรมตัวนี้ออกสู่ตลาด ในปี 2558 มีการสั่งซื้อสินค้า ผ่านปุ่ม Dash Botton โดยเฉลี่ยประมาณ 2 ครั้งต่อนาที โดยสินค้าที่ผู้บริโภคนิยม สั่งซื้อผ่านปุ่ม Dash Botton มากที่สุดใน ตลาดสหรัฐอเมริกา ได้แก่
- สินค้าประเภทผลิตภัณฑ์ทำความสะอาด
- เครื่องสำอาง
- อาหารสำหรับสัตว์เลี้ยง
“ตั้งแต่บริษัทหยุดจำหน่ายอุปกรณ์ Dash ตั้งแต่ต้นปี 62 บริษัทได้เห็นการเติบโตอย่างต่อเนื่อง ในช่องทางเลือกเพื่อการช็อปปิ้งอื่น เช่น บริการ Virtual Dash Button ซึ่งปุ่ม Dash เสมือนบนเว็บไซต์, บริการสั่งซื้อสินค้าด่วน Dash Replenishment, บริการ Alexa Shopping บน Alexa และบริการ Subscribe & Save With ที่ผู้ใช้สามารถสมัครสมาชิกและบันทึกการซื้อเพื่อให้ง่ายต่อการซื้อในครั้งหน้า ทั้งหมดนี้สามารถทดแทนการทำงานของปุ่ม Dash ทำให้บริษัทตัดสินใจไม่เชื่อมต่อ และลูกค้าจะไม่สามารถสั่งซื้อผ่านอุปกรณ์ Dash Button ทั่วโลกได้อีกต่อไปตั้งแต่ 31 สิงหาคม 62”
👉เนื่องจากฟังก์ชันการสั่งซื้อผ่านระบบผู้ช่วยเสียง “อะเล็กซ่า” (Alexa) ทำให้ผู้บริโภคไม่จำเป็นต้องใช้ปุ่มอีกต่อไป
โดยต่อมา Amazon ได้เปิดตัวผลิตภัณฑ์ใหม่ที่มีชื่อว่า Amazon Echo ลำโพงอัจฉริยะโดยนำ Alexa ระบบผู้ช่วยเสมือน (Virtual Assistant) ที่ใช้การสั่งงานด้วยเสียงจากผู้ใช้ไปยังอุปกรณ์หรือลำโพง เพื่อทำหน้าที่ช่วยเหลือและอำนวยความสะดวก ตอบคำถาม ใช้งานฟังก์ชั่นมากมาย
→ การทำงานของ Amazon Echo
Alexa เป็นผู้ช่วยสั่งงานด้วยเสียง ซึ่งอยู่ในลำโพง Smart Speaker ของ Amazon ซึ่งเป็นบริษัทด้าน E-Commerce และเป็นผู้ผลิตลำโพงอัจฉริยะชื่อ Amazon Echo นั่นเอง เหมือนกับ Google Assistants ที่เป็นผู้ช่วยสั่งงานด้วยเสียง อยู่ในลำโพงอัจฉริยะในชื่อ Google Home Mini หรือ Google Home หรือ Nest เป็นต้น แต่ Alexa ได้เชื่อมบัญชีของ Amazon ซึ่งเป็นบริการด้านช้อปปิ้งออนไลน์เป็นหลัก ทำให้สามารถสั่งซื้อของจาก Amazonหรือสั่งอาหารจากร้านอาหารได้
การใช้งาน ของ Amazon Echo 🧐
หลังจากการตั้งค่าการซื้อด้วยเสียง ใน Applications Alexa แล้ว
สิ่งที่ต้องทำก็แค่พูดว่า
“ Alexa สั่งซื้อ (ชื่อผลิตภัณฑ์)”
อีกทั้งยังสามารถพูดอะไรทั่วๆไปเช่น
“ Alexa สั่งอาหารสุนัข”
Alexa จะให้ผลการค้นหาอันดับต้น ๆ แก่ผู้ใช้งานและหากไม่เป็นเช่นนั้นคุณสามารถพูดว่า “ไม่” เมื่อถามว่าคุณต้องการสั่งซื้อหรือไม่และ Alexa จะอ่านผลลัพธ์ถัดไป เพียงพูดว่า“ ใช่” เมื่อ Alexa อ่านรายการที่ถูกต้องและถามว่าคุณต้องการสั่งซื้อหรือไม่ จากนั้นคุณจะได้รับแจ้งให้ป้อนรหัสเสียงของคุณหากคุณเปิดใช้งาน → เมื่อสั่งซื้อสินค้าแล้วรายละเอียดการสั่งซื้อจะปรากฏในแอป Alexa
แหล่งอ้างอิงจาก
→ จุดเน้นหลักของการศึกษาครั้งนี้คือการอำนวยความสะดวกทั้งร้านค้าและลูกค้า จัดหาโซลูชั่นฮาร์ดแวร์และซอฟต์แวร์ที่ช่วยร้านค้า เพื่อปรับปรุงคุณภาพของปัญหาการบริการและขจัดกระบวนการที่ใช้เวลานานในการช้อปปิ้ง ในอุตสาหกรรมค้าปลีกได้ลงทุนเพิ่มเติมในการสำรวจศักยภาพของเทคโนโลยีเหล่านี้สำหรับบริการใหม่ๆสำหรับลูกค้าของร้านค้าปลีก บริการใหม่เหล่านี้ดึงดูดลูกค้าจำนวนมากที่เพิ่มรายได้อีกด้วย
😊🙂 — Thank you — 🙂😊
*****************************************************************